ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน Tropical Vegetable Research Center, TVRC

https://www.facebook.com/profile.php?id=100008595977953

e-Mail :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.   โทร. 034 351393

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน เริ่มจากโครงการพัฒนาพืชผักสู่ชนบท (Thailand Outreach Program : TOP) เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2525 มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นตัวแทนของรัฐบาลไทย ดำเนินการวิจัยและฝึกอบรม ส่วน ADB และ AVRDC สนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ พันธุ์ผัก เทคโนโลยีการผลิต และครุภัณฑ์ที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมระดับภูมิภาคเอเชีย ดำเนินงานวิจัย พัฒนาพันธุ์พืชผักและเทคโนโลยีการเขตกรรมให้เหมาะสมกับเขตร้อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขยายงานเดิมที่เคยร่วมงานกับ AVRDC และประสานงานวิจัยระหว่างนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศให้มากขึ้น โดยโครงการพัฒนาพืชผักสู่ชุมชน (TOP) ได้ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ภูมิภาคแห่งเอเชีย (Asian Regional Center หรือ ARC) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นศูนย์กลางอำนวยความสะดวกในการจัดฝึกอบรมให้แก่นานาประเทศ โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานร่วมกัน ในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนมีการเปลี่ยนแปลงจากที่สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปลี่ยนเป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆอีก 7 หน่วยงาน ตามคำสั่งให้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้ดำเนินงานเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2556 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคำสั่งให้ยุบเลิกสถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน และให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนอยู่ภายใต้สังกัดภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการรวบรวมพันธุกรรมพืชผักชนิดต่างๆ และผักพื้นบ้านภายในประเทศ เพื่อรักษาพันธุ์ไม่ให้สูญหาย รวมทั้งมีการศึกษาลักษณะพันธุ์ บันทึกข้อมูล ขยายพันธุ์ และเก็บรักษาพันธุ์ในรูปเมล็ดพืช ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ปัจจุบันมีเชื้อพันธุกรรมพืชผักเขตร้อนที่เก็บรวบรวมไว้ประมาณ 13,000 accessions จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านกว่า 200 ชนิด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และรักษาต้นพันธุ์ มีการประเมินลักษณะที่ดีหรือลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของเชื้อพันธุกรรมพืชผัก เพื่อใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมพืชผักที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชผักให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการวิจัยต่อยอดและใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร มีการศึกษาวิจัยระบบการผลิตผักที่เหมาะสมและปลอดภัยผู้บริโภค รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักให้มีคุณภาพดี

โครงการและผลงานวิจัยที่มีการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมที่เก็บรวบรวมไว้มีดังต่อไปนี้

1.ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้าน

เดิมทีนั้นสวนผักพื้นบ้าน (IV Garden) มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ร่วมกับ ARC-AVRDC รวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้าน ทั้งที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุกทั้งหมด 179 ชนิด ในปี พ.ศ. 2550 มีนโยบายที่จะปรับปรุงสวนผักพื้นบ้าน ให้มีความหลากหลายของชนิดผักมากขึ้น และเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของการใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหารและยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และในปี พ.ศ. 2555 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้าน เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านในประเทศไทย เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ผักพื้นบ้าน การใช้ประโยชน์ คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา วิธีการบริโภค การปลูกและการดูแลรักษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สร้างจิตอนุรักษ์และเห็นความสำคัญของผักพื้นบ้าน ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านมีพื้นที่โดยประมาณ 5 ไร่ ปลูกรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านไว้ประมาณ 200 ชนิด เพื่อเป็นแหล่งเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมผักพื้นบ้านในประเทศไทย โดยเฉพาะพืชที่เก็บเมล็ดพันธุ์ได้ยาก จำเป็นต้องปลูกเป็นต้นพันธุ์เพื่อรักษาความมีชีวิตไว้ในแปลงรวบรวมพันธุ์ และยังเป็นพื้นที่จัดแสดงความหลากหลายของพันธุ์ผักพื้นบ้านให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาหาความรู้ด้วย
  

ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้าน ที่เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และเก็บรักษาพันธุ์

  1. โครงการวิจัยเรื่องการจัดการเชื้อพันธุกรรมพริก

     โครงการวิจัยเรื่องการจัดการเชื้อพันธุกรรมพริก ดำเนินงานในปี 2548-2551 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เป็นโครงการที่ร่วมวิจัยหลายหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาโรคพืช ภาควิชากีฏวิทยา สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ ในการจัดการเชื้อพันธุกรรมพริกที่เก็บรวบรวมโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน และเชื้อพันธุกรรมพริกที่ได้รับจากต่างประเทศ มาประเมินลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ลักษณะการต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัส การต้านทานต่อการทำลายของแมลงวันทอง และประเมินปริมาณความเผ็ด (Capsaicin) เพื่อจัดกลุ่มความเผ็ดของเชื้อพันธุกรรมพริก รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพริก และระบบการเข้าถึงเชื้อพันธุกรรม โดยประกอบไปด้วยโครงการย่อยดังนี้

     1) การประเมินความต้านทานโรคแอนแทรคโนสของเชื้อพันธุกรรมพริก

     2) การประเมินความต้านทานโรคไวรัสใบด่างของพริกในเชื้อพันธุกรรมพริก

     3) การประเมินความต้านทานต่อแมลงวันผลไม้ของเชื้อพันธุกรรมพริก

     4) การวิเคราะห์ปริมาณแคปไซซินด้วยเครื่อง NIR spectrophotometer

     5) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจัดกลุ่มเชื้อพันธุกรรมพริก โดยใช้ microsatellite

  

โครงการวิจัยเรื่องการจัดการเชื้อพันธุกรรมพริก

  1. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมพริกพื้นเมือง

โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมพริกพื้นเมือง เป็นโครงการที่รวบรวมพันธุ์พริกพื้นเมืองจากท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ ทั้งหมด 253 สายพันธุ์ โดยมีแหล่งที่มาจาก 1) รวบรวมจากเชื้อพันธุกรรมพริกของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน จำนวน 100 สายพันธุ์ 2) พันธุ์พริกจากการเก็บรวบรวมโดย อาจารย์วีระ ภาคอุทัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวบรวมพันธุ์พริกได้ทั้งหมดจำนวน 64 สายพันธุ์ และ 3) พันธุ์พริกจากการเก็บรวบรวมเพิ่มโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน อีกจำนวน 89  สายพันธุ์ เพื่อให้พันธุ์พริกเหล่านี้มีการเก็บรักษาพันธุ์และบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ใช้อ้างอิงได้ และมีการประเมินลักษณะทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การนำไปใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงควรมีการเก็บรวบรวมพันธุ์พริกพื้นเมือง ศึกษาลักษณะพันธุ์ ขยายเมล็ดพันธุ์ ศึกษาระบบการปลูกพริกพื้นเมืองปลอดภัย คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์ในการพัฒนาพันธุ์ดี การเก็บรวบรวมและศึกษาลักษณะพันธุ์รวมทั้งการเก็บในรูปเชื้อพันธุกรรมพริกพื้นเมืองของไทย มีการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ให้ดีขึ้น พร้อมที่จะส่งกลับชุมชน เพื่อให้มีพันธุ์พริกที่ดีประจำท้องถิ่นและการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน มีการขยายเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในภาวะวิกฤต มีการศึกษาระบบการปลูกที่เหมาะสมสำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปลูกพริกพื้นเมืองของไทย และให้มีการนำไปวิจัยต่อยอดใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมพริกพื้นเมือง ประกอบด้วยโครงการย่อยดังนี้

1) การรวบรวมและศึกษาลักษณะพันธุกรรมพริกพื้นเมืองของไทย

2) การประเมินพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พริกพื้นเมือง

3) การประเมินลักษณะความต้านทานโรค

โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมพริกพื้นเมือง

          นอกจากงานวิจัยแล้ว ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนยังได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพดีสู่เกษตรกร โดยพันธุ์พืชผักที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์จากเชื้อพันธุกรรมที่รวบรวมไว้ และผลิตจำหน่ายให้กับเกษตรกรเช่น มะเขือเทศสีดาทิพย์ 4 และพันธุ์ลูกผสมสีดาทิพย์ 92 มะเขือเทศผลเล็กสำหรับรับประทานสด คือ พันธุ์เชอรี 154  พริกมันดำ 365  พริกขี้หนูผลใหญ่ 758 และ พริกขี้หนูลูกผสมเทวี 60 นอกจากนี้ ยังมีพืชผักชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วพู 070 ถั่วเหลืองฝักสด 292 ฟักเขียว 026 เป็นต้น

 

บุคลากร

  ผศ.ดร.สุรพงษ์ ดำรงกิตติกุล
ตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  นายอัครชัย  โสมกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นายปรีดา   รามศิริ
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิจัย

     

นางอุทัยวรรณ  ด้วงเงิน
ตำแหน่ง  นักวิขาการเกษตร ชำนาญการ
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นายวิทยา เศรษฐวิทยา
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิจัย

     

นายอนุชา  วงศ์ปราณีกุล
ตำแหน่ง : นักวิจัย
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นางสาววราภรณ์  สินสถาพรพงศ์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิจัย

     

นายทัศนัย  ชัยเพ็ชร
ตำแหน่ง : นักวิชาการเกษตร
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นางสาวบุณณดา  ศรีคำผึ้ง
ตำแหน่ง นักวิจัย

        นางสาววันณิสา  พุูลเดช
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิจัย

       

นายประเสริฐ  คำวงษ์
ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร

       

นางธวัลรัตน์  ภูดิาฐ์ธนะพร
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

       

นางสายใจ  จันทร์เพ็ญ
ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

       

นางสาวกาญจนา  จุ้ยเอี่ยม
ตำแหน่ง พนักงานผลิตทดลอง